ปัญหาการติดโทรศัพท์ของวัยรุ่น
สถิติการใช้มือถือของคนไทยในปัจจุบัน
เปิดเผยการสำรวจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของครัวเรือนไทยว่า
ในช่วงปี 2546-2549 ว่า การใช้โทรศัพท์มือถือของคนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในช่วง
3 ปีที่ผ่านมา
ระหว่างปี 2546-2549 โดยในปี 2549 จำนวนคนไทยใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นจากปี
2546 เกือบเท่าตัว คือ จากประชากร 100 คน
มีโทรศัพท์มือถือ ใช้ 23 คนในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 42 คนในปี 2549
โดยกลุ่มวัยรุ่น
มีสัดส่วนผู้ใช้โทรศัพท์เพิ่มขึ้นประมาณเท่าตัว ซึ่งมากกว่าทุกกลุ่มอายุ
วัยรุ่นไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 1ของเอเชีย
และทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนานถึง 1.7 ชั่วโมงต่อวัน
วัยรุ่นใช้โทรศัพท์มือถือเพื่ออะไร
ในการใช้โทรศัพท์มือถือของวัยรุ่น
นอกจากใช้ติดต่อสื่อสารแล้วยังใช้บริการอื่นอีก คือ เพื่อส่งข้อความและรูปภาพ
มากที่สุด ร้อยละ 50.0
รองลงมาเป็นโหลดเพลง คิดเป็นร้อยละ 46.4 และเล่นเกมอีกร้อยละ
14.8ร้อยละ
4.8 เล่นอินเทอร์เน็ต
/ แชท วัยรุ่นไทยมีและใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอันดับ 1ของเอเชีย
และทำสถิติพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือนานถึง 1.7 ชั่วโมงต่อวัน
ค่าใช้จ่ายในการใช้มือถือของวัยรุ่น
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนเกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ
คือ
น้อยกว่า 500 บาทร้อยละ
54.6
501 -1,000 บาทร้อยละ 35.1 1
1, 001 -1,500 บาทร้อยละ 7.5
มากกว่า 1,500 บาทร้อยละ
2.8
ขณะที่ความคิดเห็นเกี่ยวกับความจำเป็นของโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน
คือเห็นว่าจำเป็นร้อยละ 87.4 เห็นว่าไม่จำเป็นร้อยละ 12.6
ผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากการติดสมาร์ทโฟน
การก้มมองสมาร์ทโฟนหรือ
แท็บเล็ตบ่อย ๆ เพื่อใช้งาน จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและหลังส่วนบนเกิดอาการตึง
เกร็ง และทำให้เกิดการเจ็บปวดตามมาได้
การแก้ปัญหาด้วยการยกมือถือขึ้นมาที่ระดับสายตาจะช่วยให้คุณไม่ปวดหลังและคอ
แต่จะทำให้คุณปวดเมื่อยแขนของคุณแทน วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือการพบกันครึ่งทาง
ด้วยการยกมือถือขึ้นมาด้วยระยะห่างประมาณครึ่งช่วงแขนและใช้สายตาเหลือบมองลงมาแทนการก้มคอลงมาแบบแทบจะชิดกับหน้าอกของคุณ
แต่ถ้าเป็นไปได้พยายามใช้งานมือถือของคุณในระยะเวลาสั้น ๆ
แต่บ่อยครั้งแทนการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ
2. ดวงตาแห้ง
ถามตัวเองว่าคุณใช้สายตากับการมองหน้าจออุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่มีแสงจ้า (ที่คุณไม่รู้ตัว) กี่ชั่วโมงในแต่ละวัน หรือแต่ละสัปดาห์ ตัวเลขรวมคร่าว ๆ คงทำให้คุณตกใจ
ขณะที่เราเพ่งสายตาเพื่ออ่านอีเมล อ่านข่าว หรือดูคลิปวิดีโอ
เราจะกะพริบตาของเราน้อยลงถึง 1 ใน 3 จากอัตราการกะพริบตาปกติ ซึ่งส่งผลให้ตาของเราเกิดอาการเมื่อยล้าและแห้ง
ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการติดเชื้อจากการระคายเคืองของดวงตาได้
จำไว้ว่าเมื่อต้องจ้องมองหน้าจอ
วิธีการป้องกันไม่ให้ดวงตาของคุณเกิดอาการดังกล่าวคือการพยายามกะพริบตาทุก ๆ 2 - 10 วินาที หรือ 15 - 30 ครั้งต่อนาที
อาจจะฟังดูเยอะ แต่เมื่อทำจนเป็นนิสัยแล้ว
อาการตาแห้งและการระคายเคืองตาของคุณจะลดน้อยลง
3. นอนหลับไม่สนิท
ภาพ (แสง)
และเสียงที่เกิดจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์
สามารถส่งผลกระทบต่อการนอนหลับพักผ่อนของคุณได้
อุปกรณ์ทุกชนิดที่มีหน้าจอส่องสว่างจะทำให้คุณนอนหลับได้ไม่เต็มที่และทำให้ร่างกายพักผ่อนได้ไม่เพียงพอ
โดยแสงและเสียงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะไปหยุดยั้งการทำงานของเมลาโทนิน
(Melatonin) ฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับ
นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบของร่างกายและสมองเกิดอาการแปรปรวนและทำงานผิดปกติ เช่น
สมองล้า หรือร่างกายเผาผลาญได้น้อยลง
สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พวกนั้นก่อนนอนอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง และทางที่ดีคุณไม่ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ในห้องนอน เพราะคุณอาจจะห้ามใจตัวเองไม่ไหวหยิบมือถือขึ้นมาเล่น และทำให้คุณนอนช้ากว่าที่ควร หรืออาจอดนอนเพราะเผลอเล่นเกมส์ในมือถือจนลืมดูเวลา
สิ่งที่คุณต้องทำก็คือ ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พวกนั้นก่อนนอนอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง และทางที่ดีคุณไม่ควรเก็บอุปกรณ์ไว้ในห้องนอน เพราะคุณอาจจะห้ามใจตัวเองไม่ไหวหยิบมือถือขึ้นมาเล่น และทำให้คุณนอนช้ากว่าที่ควร หรืออาจอดนอนเพราะเผลอเล่นเกมส์ในมือถือจนลืมดูเวลา
4. ความเครียด
แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์เทคโนโลยีสุดล้ำสมัยจะทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้น
แต่ในขณะเดียวกันอุปกรณ์เหล่านี้ก็ทำให้พวกเราเกิดความเครียดมากขึ้นตามไปด้วย
ตัวอย่างเช่น เสียงเตือนข้อความหรืออีเมลเข้าที่ดังแทบทุก ๆ นาที จากบรรดาสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตทำให้เราต้องคอยพะวงว่าจะมีใครติดต่อมาอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้สมองของเรายังทำงานหนักเกินไปจากการเสพข่าวและข้อมูลจำนวนมหาศาลจากทั่วทุกมุมโลกผ่านอุปกรณ์ดังกล่าว
ทำให้เราไม่รู้ว่าควรจะให้ความสำคัญกับสิ่งไหนก่อนดี
และสิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้สามารถทำให้เราเกิดความเครียดได้ทั้งแบบรู้ตัวและแบบไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตามคุณสามารถหยุดยั้งความเครียดจากการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปได้ด้วยการไม่พึ่งพาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เพราะชีวิตของคุณยังมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าให้ทำอีกเยอะ ปิดเสียงเตือน ปิดเสียงเรียกเข้ามือถือเมื่อคุณต้องการสมาธิ และพยายามใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงอยู่กับเพื่อนหรือครอบครัวโดยไม่แตะต้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ้าง
อย่างไรก็ตามคุณสามารถหยุดยั้งความเครียดจากการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปได้ด้วยการไม่พึ่งพาเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เพราะชีวิตของคุณยังมีสิ่งอื่นที่สำคัญกว่าให้ทำอีกเยอะ ปิดเสียงเตือน ปิดเสียงเรียกเข้ามือถือเมื่อคุณต้องการสมาธิ และพยายามใช้เวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมงอยู่กับเพื่อนหรือครอบครัวโดยไม่แตะต้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ้าง
5. กระดูกสันหลังมีปัญหา
การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน
ๆ อาจทำให้คุณหลังงอ
หรือมีพฤติกรรมที่มีท่านั่งหรือยืนที่ส่งผลต่อกระดูกสันหลังโดยไม่รู้ตัว
เมื่อเวลาเรานั่งร่างกายของเราจะปรับสภาพให้ใช้พลังงานน้อยลงและกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นลดลงเพราะเราไม่ได้เคลื่อนไหว
ซึ่งการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานานจะทำให้เราเผลอทิ้งน้ำหนักไปที่หลังส่วนล่าง
เมื่อเราขยับตัวอาจทำให้เกิดอาการกดทับของกล้ามเนื้อหรือการเคลื่อนของกระดูกคอหรือหลังส่วนบนได้
หลีกเลี่ยงการโก้งโค้งขณะนั่งที่โต๊ะทำงาน ด้วยการพิงหลังส่วนล่างกับพนักเก้าอี้หรือหมอนรองเก้าอี้ และปรับระดับของหน้าจอให้อยู่ระดับเดียวกับระดับสายตา ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต อยู่กับที่โดยไม่ได้ลุกไปไหน ป้องกันการโค้งงอของกระดูกสันหลังของคุณด้วยการวางตั้งอุปกรณ์ของคุณไว้บนโต๊ะ หรือติดตั้งคีบอร์ดเสริมเพื่อให้จอของอุปกรณ์ตั้งฉากกับแนวพื้นโต๊ะ ท่าดังกล่าวจะไม่ทำให้คุณเกิดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งผิดวิธีอีกต่อไป
หลีกเลี่ยงการโก้งโค้งขณะนั่งที่โต๊ะทำงาน ด้วยการพิงหลังส่วนล่างกับพนักเก้าอี้หรือหมอนรองเก้าอี้ และปรับระดับของหน้าจอให้อยู่ระดับเดียวกับระดับสายตา ถ้าคุณใช้คอมพิวเตอร์แล็ปท็อปหรือแท็บเล็ต อยู่กับที่โดยไม่ได้ลุกไปไหน ป้องกันการโค้งงอของกระดูกสันหลังของคุณด้วยการวางตั้งอุปกรณ์ของคุณไว้บนโต๊ะ หรือติดตั้งคีบอร์ดเสริมเพื่อให้จอของอุปกรณ์ตั้งฉากกับแนวพื้นโต๊ะ ท่าดังกล่าวจะไม่ทำให้คุณเกิดอาการปวดเมื่อยจากการนั่งผิดวิธีอีกต่อไป
พฤติกรรมแย่ๆจากการใช้มือถือนานๆ
เห่อตามแฟชั่น
นิยมเปลี่ยนมือถือไปตามแฟชั่นเพื่อให้อินเทรนด์ ดูทันสมัย และบ้างก็เปลี่ยนเพื่อให้ดูเป็นคนมีระดับ มีฐานะ ทั้งที่ บางคนแทบจะไม่ได้ใช้เพิ่มเติม จากเดิมเลยก็ตาม
ขาดกาลเทศะ และมารยาท
จากการที่เราไม่ค่อยอดทนรอ
ที่ว่านี่เอง ทำให้หลายๆ ครั้ง เมื่อนึกอะไรขึ้นมาได้
ก็จะกดโทรศัพท์ไปหาบุคคลที่เราอยากจะพูด อยากถามในทันที ซึ่งบางครั้ง
อาจจะทำให้เขาไม่พอใจ หรือโกรธที่เราไปขัดจังหวะการกิน การนอน การพักผ่อน ฯลฯ ของเขาอยู่ก็ได้
ขาดมนุษย์สัมพันธ์
วัยรุ่นอยู่บ้าน
แทนที่จะพูดคุยกับพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือทำร่วมกับญาติพี่น้อง ก็มักรีบหนีขึ้นห้องโทรไปหาเพื่อน และใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ พอนานๆ ไปความสัมพันธ์ในบ้านก็ห่างเหิน โดยไม่สนใจผู้อื่นอีกต่อไป
วิธีง่ายๆ
ทำยังไงไม่ให้ติดมือถือเกินขนาด
https://th.theasianparent.com/%
1. สำรวจตัวเองดูว่าใช้มือถือมากแค่ไหนต่อวัน
ก่อนที่จะเริ่มแก้ก็ต้องมาเรียนรู้พฤติกรรมของตัวเองกันก่อนนะคะ
ว่าเสพติดสมาร์ทโฟนถึงขั้นไหนแล้ว
โดยให้ลองเข้าไปดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อจับเวลาในการใช้งานมือถือของเราพร้อมทั้งตั้งเวลาเพื่อแจ้งเตือนหากเราใช้เวลาจ้องหน้าจอมากเกินไป
แอพพวกนี้ก็มีหลายตัวอย่างเช่น QualityTime บน Play Store หรือ Moment บน Apple App store ค่ะ
และหากพบว่าเราใช้สมาร์ทโฟนมากเกินพอดีแล้วหละก็ให้ลองมาดูวิธีการที่จะลดการใช้งานในข้อต่อๆ
ไปได้เลย
2. ปิดการแจ้งเตือนต่างๆ บนมือถือ
เชื่อว่าหลายๆ
คนคงเป็นกันเวลาที่เราจะวางมือถือลงแล้วแต่กลับมี notification
ต่างๆ เด้งเข้ามา
ก็เป็นธรรมดาที่เราจะอดรนทนไม่ไหวต้องหยิบมือถือขึ้นมาเช็คดูว่ามีใครแชทอะไรมาหรือเม้นต์อะไรไว้
ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ปิดการแจ้งเตือนที่ไม่จำเป็นทิ้งไปเลยค่ะ
แล้วถ้ามีเวลาว่างจริงๆ ค่อยมาไล่ดูย้อนหลังเอา .. เชื่อเหอะว่ามันรอได้
3. ตั้งเวลาออฟไลน์ตัวเองในทุกๆ วัน
จริงๆ
ถ้าลองคิดดูมีหลายช่วงเวลาในชีวิตที่เราไม่จำเป็นต้อง online เลยนะ อย่างเช่น ช่วงเวลาทานอาหารเย็นกับครอบครัว, เวลาออกไปเที่ยวกับเพื่อนๆ
หรือแม้แต่เวลาแช่น้ำเพื่อผ่อนคลาย ลองกำหนดให้ช่วงเวลาเหล่านี้เป็นช่วง offline ดู
อย่างเช่นลองปิดเสียงมือถือเมื่อกลับบ้านแล้วก่อนจะเปิดอีกครั้งหลังออกจากบ้านเพื่อไปทำงาน
ง่ายๆ แค่นี้ก็จะช่วยลดอาการติดมือถือลงได้แล้ว
4. อย่าใช้มือถือเป็นนาฬิกาปลุก
จริงๆ
ถ้าจะให้ดีก็คืออย่าเอามือถือเข้าห้องนอนค่ะ เพราะการวางมือถือไว้ข้างเตียงเพื่อใช้เป็นนาฬิกาปลุกแบบนี้สุดท้ายก็จะทำให้เราอดไม่ได้ที่จะหยิบมาดูนั่นดูนี่ก่อนนอน
หรือหลังตื่นนอนอยู่ดี ซึ่งมีการพบว่าเล่นโทรศัพท์ก่อนนอนจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
โดยเฉพาะเรื่องการนอนหลับทั้งยังมีผลต่อระดับความเครียดและอาจทำร้ายดวงตาจนอาจไปสู่ภาวะจอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วยนะ
5. ฝึกฝนตัวเองให้พักบ้าง
ถ้าทำตามวิธีข้างต้นแล้วยังไม่ได้ work Dr.
Larry D. Rosen นักจิตวิทยาจาก California
State University ก็เสนอว่าให้ลองฝึกตัวเองดูค่ะ!
โดยวิธีการคือให้เราเปิดมือถือ ดูว่ามีอะไรบ้างที่ปกติเราจะต้องเช็ค เช่น
ใครโทรมาบบ้าง, ข้อความใหม่, chat, social จากนั้นให้ปิด notification ทุกอย่างเอาไว้
ตั้งจับเวลาบนมือถือสัก 15 นาที คว่ำหน้ามือถือลง
เมื่อครบตามเวลาที่กำหนดให้พลิกหน้าจอขึ้นมาดูได้สักสองสามนาทีว่ามีการแจ้งเตือนไหนเข้ามาบ้างไหม
และให้ทำปบบเดิมซ้ำๆ แต่ค่อยๆ เพิ่มเวลาคว่ำหน้าจอไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะชินและไม่รู้สึกกังวลเมื่อต้องอยู่ห่างมือถือ
2561 project from Mayureept
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น